พระราชประวัติ รัชกาลที่ 4
พุทธศักราช 2347 พระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 พระนามพระองค์ว่าทูลกระหม่อมใหญ่ นี่คือเรื่องราวกว่า 64 พรรษาของพระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทุกคนควรรอบรู้ด้วยความภาคภูมิใจ พุทธศักราช 2367 หลังจากที่พระองค์ทรงผนวชรัชกาลที่ 2 ทรงเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรวจมอบราชสมบัติแก่ใคร ฐานะพระองค์ คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ในอัครมเหสีสมควรอัญเชิญขึ้นเป็นกษัตริย์แต่พระองค์รู้เห็นดีว่ายังไม่พร้อมที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์พระราชโอรสพระองค์โต ของรัชกาลที่ 2 ที่ทรงประสูติจากเจ้าจอมมารดา ทรงมีทั้งพระราชอำนาจ และ กำลังตลอดจนวัยวุฒิ ที่เหมาะสมกว่าพระองค์ จึงทรงประสงค์ที่จะผนวชต่อ ดังนั้น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ จึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3 ปรากฏนาม คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ มุมกำแพงแก้วพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านเหนือเมื่อการสถาปนาพระอารามใกล้แล้วเสร็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชบิดาเข้าไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมราชาธิราชเหตุการณ์วันนั้นประทับในพระราชหฤทัย ไม่ส่งลืม มีพระราชดำรัสด้วยพระเมตตายิ่งว่ามีพระสิริรูปเป็นอันงามโปรดให้พาไปทอดพระเนตรรูปเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่ระเบียง
หลักจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ เป็น พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่ง พระบรมราชวงศ์จักรี
เมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ 9 ชันษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีลงสรงตั้งพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมติวงศ์ฯ ทรงศึกษาวิชาสำหรับขัตติยะราชกุมาร เช่น อักษรสยาม วิชาคชกรรม และ การใช้อาวุธทั้งปวง
เมื่อมีพระชนมายุ 13 พรรษา โปรดให้ตั้งการ พระราชพิธีโสกันต์ แล้วทรงบรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาในพุทธศักราช 2367 โปรดให้อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จจำพรรษา ณ วัดสมอราย ได้เพียง 15 วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็น พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 3 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เจ้าฟ้าพระมงกุฎ จึงพอพระราชหฤทัยที่จะขอครองผ้ากาสาวพัสตร์ตลอดจน รัชกาลที่ 3
ปีพุทธศักราช 2368 พระองค์ทรงตั้งพระหฤทัย เรื่องพระพุทธศาสนาที่จะศึกษาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ซึ่งเป็นรากฐานในการนำพาประเทศชาติสู่ความเจริญรุ่งเรือง ทัดเทียม อารยประเทศ
ช่วงเวลาที่ทรงอยู่ในสมณเพศ ทรงพระอุตสาหะศึกษาพระพุทธวจนะ พระปริยัติธรรมจนแตกฉาน ทรงเสด็จจาริกไปนมัสการเจดียสถาน ที่รกร้างอยู่ในบ้านเมืองโบราณ ทรงพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี นั้นคือ พระแท่นมนังคศิลา และ จารึกสุโขทัย 2 หลัก ทรงพากเพียรอ่านจนได้ความรู้เรื่องกรุงสุโขทัย และ การประดิษฐ์อักษรไทย ตัวเลขไทย ซึ่งมีมานานกว่า 700 ปี และสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงมีโอกาสได้ทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังทรงเอาพระทัยใส่ ศึกษาภาษาต่างประเทศ และศิลปะวิทยาการสมัยใหม่ ที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก โดยเฉพาะวิชาดาราศาสตร์ กล่าวได้ว่าการที่ทรงพากเพียรเรียนรู้ทั้งทางโลก และ ทางธรรม อย่างรอบด้าน ตลอด 27 ปี ที่ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์นั้นเป็นคุณยิ่งแก่บ้านเมือง
ปีพุทธศักราช 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ด้วยความรอบรู้อย่างถ่องแท้ทำให้ประชาชนพร้อมใจอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็น รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ปรากฏพระนาม คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อทรงรับพระราชภาระเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เมื่อวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงได้นำสยามประเทศเข้าสู่สังคมยุคใหม่ ด้วยความพร้อมทั้งบุคคล และ วิชาความรู้ดังที่หนังสือพิมพ์ สแตรทส์ ไทม์ (strait Times) ของสิงคโปร์ลงข่าวการเสด็จขึ้นครองราชย์ ของคิงมงกุฎ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความหวังอันยิ่งใหญ่แก่ประชาชนชาวสยาม และเป็นที่น่าสนใจแก่ประเทศชาติภายนอก
ในช่วงที่ทรงผนวชอยู่ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จธุดงค์ขึ้นไปเมืองเหนือได้ทรงทราบตระหนักในพระราชหฤทัยว่าการที่เสด็จประพาสถึงอยู่ไกลเช่นนั้น ในทรงรู้กิจ สุข ทุกข์ ของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นประโยชน์แก่การปกครองพระราชอาณาจักรอย่างยิ่งเพราะฉะนั้นต่อมา เมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติจึงทรงเสด็จประพาสตามหัวเมืองอย่างน้อย 1 เดือน จนตลอดรัชกาล เพื่อวินิจฉัยของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ นี้เป็นจริงอย่างยิ่งเพราะช่วงรัชสมัย 17 ปี ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรตามความที่โปรดให้ประกาศว่าแต่ก่อนแล้วเล่าลือว่าในหลวงย่อมอยู่ในกำแพงขังมีเวลาจะได้ออกประพาสปีละครั้ง แต่หน้าฤดูกาลครั้งนั้นได้เสด็จไปถึงหัวหมื่นใกล้ไกล เช่น นครปฐม เหนือสุดถึงเมืองพิษณุโลก ตะวันตกถึงเมือง ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สวนทางทะเลนั้น เสด็จเมืองชายทะเลด้านตะวันออก หัวเมือตะวันตก สุดถึงหัวเมืองปักษ์ใต้ ที่ สงขลา และ เมืองปัตตานี พระราชกรณียกิจ เนื่องด้วยการเสด็จประพาสนั้นโปรดการเสด็จไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่กรุงเก่า อยู่บ่อยครั้ง ถวายผ้าพระกฐินบ้าน ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ พระอารามเก่าบ้าง วัดร้างตั้งแต่ครั้งเสียกรุง จึงมีพระสงฆ์จำพรรษาราษฎรชาวเมืองก็กลับมาอยู่อาศัยทำให้บ้านเมืองไม่รกร้างว่างเปล่าอีกต่อไป
ราชการซึ่งมีในรัชกาลที่ 4 นี้เป็นการสุขุมต้องทรงตริตรองโดยพระปรีชาญาณ และ โดยพระอุตสาหะอันยิ่งใหญ่มิได้หยุดหย่อน ความไปที่เทศนาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดถึงความสำเร็จของพระบรมราโชบายในการปกครองที่เกิดความเป็นเอกภาพภายในการป้องกันภัยจากภายนอก และปกป้องอาณาประชาราษฎร์ ให้อยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน เอกภาพในการปกครองที่ทรงเอาพระทัยใส่แต่แรกเสด็จครองราชย์ คือ ทรงสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่เจ้านาย ด้วยการยกย่องให้มีพระเกียรติยศตามประเพณี จากนั้นจึงทรงมอบหมายหน้าที่ให้ช่วยกำกับดูแลตามพระเนตรพระกรรณ เช่น
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท กำกับราชการมหาดไทย พระคลังสินค้า และ เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมหมื่นปราบปรปักษ์ ดูแลกรมวัง กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ (ในปัจจุบันคือกรมการศาสนา) ในส่วนข้าราชการก็ไม่ได้ทรงละเลย ทั้งข้าราชการในส่วนกลาง และ หัวเมือง ทรงตั้งขุนนางให้มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ เช่นโปรดให้ เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สำเร็จราชการทั่วทั้งพระราชอาณาจักร สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็น สมุหนายกกำกับฝ่าย พลเรือน และ หัวเมืองเหนือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กำกับฝ่าย กลาโหมหัวเมืองฝ่ายใต้ และ ชายทะเล
ทรงยกย่องผู้ครองเมืองประเทศราชขึ้นเป็นเจ้าหลายเมือง เช่น
พระยาวิเชียรปราการ เมืองเชียงใหม่ เลื่อนเป็น พระเจ้าโมโหตรประเทศฯ
พระยาน่าน เจ้าเมืองน่าน เลื่อนเป็น เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ
พระยาละครเมืองนครลำปาง เลื่อนเป็น เจ้าวรญาณรังสีฯ เป็นต้น
ด้านการป้องกันภัยจากภายนอกแม้จะไม่ได้มีการทำศึกสงคราม เช่นที่เคยมีในสมัยต้นกรุง และก็ไม่ได้ทรงละเลยการเตรียมพร้อมทรงพระราชดำริว่า “ป้อมที่เมืองสมุทรปราการ เมืองนครเขื่อนขันธ์นั้นมีความมั่นคงอยู่บ้างแล้วแต่ที่กรุงเทพฯ ยังหาเป็นที่มั่นคงจะสู้รบข้าศึกศัตรูอันจะเกิดขึ้นชั้นใน” จึงโปรดให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูเมืองพระนคร โดยมีป้อมรายเรียนเป็นระยะระยะ ส่วนความพร้อมด้านกำลังพลนั้นมีพระราชดำริ ตั้งแต่ปีแรกในรัชกาลให้รวบรวมไพร่พล มาฝึกหัดการทหารให้เข้มแข็ง และโปรดให้จัดหายุทโธปกรณ์สมัยใหม่ให้เพียงพอที่จะรักษาพระนคร เช่น ปืนใหญ่ และ ปืนประเภทต่างๆ รวมถึงเรือสำปั้นใบ เรือกำปั่นรบกลไฟ และเรือการ Boat การปกครองราชการบ้านเมืองในแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 4 จึงมีเอกภาพและมีความมั่นคงตลอด 17 ปี แห่งการกรอกบ้านเป็นรากฐานแห่งการปฏิรูปบ้านเมืองในรัชกาลต่อมา
ปีพุทธศักราช 2395 ประเทศเพื่อนบ้านกำลังถูกชาติตะวันตก คุกคามถึงความล้าสมัยพระองค์ทรงเป็นพระประมุขพระองค์เดียวที่ชมว่าประเทศในทวีปเอเชียจะคงอยู่ได้ต้องยอมรับ และ นำอารยธรรมของประเทศตะวันตกมาปรับปรุงประเทศของตนให้ทันสมัยทำให้ประเทศไทยจึงไม่ถูกคุกคาม
ปีพุทธศักราช 2396 โปรดเกล้าให้ราษฎรทูลเกล้าถวายฎีกา และ ทรงพิจารณาคดีความรวมทั้งผลิตเงินกระดาษที่มีเครื่องดนตรีสำหรับคนตาบอด
ปีพุทธศักราช 2398 ทรงลงพระนามในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีการค้ากับประเทศอังกฤษโดยให้ใช้สยามเป็นชื่อประเทศ
การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับสยาม เมื่อวันที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2398 ซึ่งมีเซอร์จอห์นเบาว์ริง เป็นราชทูตของ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาเก่าที่ เฮนรี่เบอร์นี่ ทำไว้ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นที่มาของการเรียกสนธิสัญญานี้ว่าสนธิสัญญาเบาว์ริง
ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจไทยครั้งใหญ่ เช่น เศรษฐกิจแบบพอยังชีพ เปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจการตลาด หรือเศรษฐกิจการค้า
เมื่อ รัฐอนุญาต ให้ส่งออก สินค้าต้องห้าม คือ ข้าว ได้โดยเสรี ยกเว้นปีที่ขาดแคลน โปรดให้ประกาศเรือนราษฎร รู้ล่วงหน้าเป็นระยะๆ ให้ทราบถึงผลกระทบของการทำสนธิสัญญาฉบับนี้ โดยเฉพาะปัญหาข้าว เช่น ให้ซื้อข้าวไว้แต่เมื่อยังมีราคาถูก จะได้ขายมีกำไร เมื่อขายข้าวออกต่างประเทศ หรือหากปีใดถ้ามีราคาสูงขึ้น ก็ซื้อไว้เสียก่อน จะได้มีเพียงพอบริโภคการอนุญาตให้ส่งข้าวออกได้อย่างนี้ทำให้ สยามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีลูกค้าวาณิชพากันเข้ามาค้าขายจำนวนมาก และเพื่อความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนซื้อขายจึงมีพระบรมราชานุญาต ให้ใช้เงินเหรียญนอกได้ ทรงพระราชดำริ เห็นว่า “เงินเข้ามาในบ้านในเมืองก็มีคุณกับแผ่นดินเป็นอันมากด้วยราษฎรจะได้มั่งมีทรัพย์สินเงินทองบริบูรณ์ขึ้น ลูกค้าชาวยุโรปค้าขายถึงก็ได้ใช้เงินเหรียญกันทั่วไปแล้ว แลที่กรุงเทพฯ ทุกวันนี้ควรที่จะขอให้ใช้เงินเหรียญกันได้แล้ว ให้ประกาศลูกค้าพาณิชย์ ราษฎร รู้จงทั่วว่าตามใจ จะใช้เงินเหรียญกันเทอญ”
ในที่สุดมีพระราชดำริให้ผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้เอง คณะราชทูตไทยที่เดินทางไปเจริญทางพระราชไมตรีราชสำนักอังกฤษในพุทธศักราช 2400 จึงได้รับพระราชหัตถเลขาทรงสันทัดไปว่า “ข้าพเจ้าจะใคร่ได้เครื่องมือที่จะทำเงินเหรียญตามอย่างตราไทยที่ให้อย่างไปขอท่านทูตตานุทูตจงเอาใจใส่ในการนี้” ภายในเวลา 5 ปี ได้มีเหรียญกษาปณ์ ออกใช้พอเพียงหลายราคา ทั้งเงินเหรียญ ดีบุก ทองคำ และ ทองแดง ด้านหนึ่งเป็นตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รูปพระมหาพิชัยมงกุฎมีฉัตรเคียนสองข้าง อีกด้านหนึ่งเป็นตราแผ่นดินรูปจักและรูปช้างอยู่ภายในที่รอบวงจักรมีข้อความบอกราคาของเหรียญ
ระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า และระบบเงินตราอย่างใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นมาตรฐานทัดเทียมกับนานาประเทศมาจนทุกวันนี้
ปีพุทธศักราช 2402 โปรดให้สร้างพระนครคีรีที่จังหวัดเพชรบุรี
นอกจากทอดพระเนตรถิ่นถิ่นฐานชุมชนบ้านเรือนของราษฎรแล้ว ปัญหาการ ปักปันเขตแดน ตามหลักวิชาการของชาติตะวันตก ซึ่งใช้แม่น้ำภูเขาเป็นแนวเขตทรงคาดการณ์ว่าอาจเป็นปัญหาด้านความมั่นคงเพราะมีความไม่แน่ชัด จึง เสด็จไปหัวเมืองตะวันตก ถึง เมืองกาญจนบุรี ในปี 2407 เพื่อดูความพลัดพร้อมหากมีเหตุคับขันเกิดขึ้น
“ครั้งนี้ก็ถ้าจะมานมัสการพระก็ไป พระแท่นแต่ที่แท้ก็ประสงค์จะดูที่ต่างๆ และจะหัดซ้อมเดินทางบกไว้ให้ข้าราชการทุกตำแหน่งเข้าใจในการที่จะใช้ช้าง ใช้ม้า ใช้รถ และ บทบาททหารเดิน พอเป็นธรรมเนียมรู้จักไว้เมื่อต้องการ การสำคัญ เมื่อใดก็จะเรียกได้ สั่งได้ ทำให้ง่ายให้คล่อง”
พระราชนิยมการเสด็จประพาสหัวเมือง มีที่มาของการสร้าง พระราชวัง สำหรับเสด็จแปรพระราชฐานด้วยเช่น พระราชวังท้ายพิกุล ที่พระพุทธบาทสระบุรี พระราชวัง ที่ลพบุรี ณ พระที่นั่งเก่า ครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระที่นั่งใหม่ มีพระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นพระวิมานพระที่นั่งสุดที่วินิจฉัยเป็นท้องพระโรง พระราชทานนามว่า พระนารายณ์ราชนิเวศน์ วังจันทรเกษม ที่พระนครศรีอยุธยา ให้บูรณะวังขึ้นใหม่ มีท้องพระโรง พระที่นั่งฝ่ายหน้า พระตำหนักเรือหลวงของฝ่ายใน และหอดูดาว พระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม ส่วนพระนครคีรี ที่เมืองเพชรบุรีเป็นพระราชวังบนเขาเสด็จไปประทับแรมเป็นประจำทุกปี ด้วยเพราะทรงคุ้นเคยกับชาวเมืองเพชร มาแต่ทรงผนวช เพราะเป็นที่ประทับสบายและอากาศมี การเสด็จประพาสหัวเมืองได้เป็นแบบอย่างแก่พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อๆมา
ปีพุทธศักราช 2440 พัฒนาการคมนาคมโดยโปรดให้สร้าง ถนนเจริญกรุง ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้ประเทศสยาม ก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน และเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา
“ทุกวันนี้บ้านเมืองก็เจริญขึ้นผู้คนก็มากกว่าเมื่อแรกสร้างกรุงหลายเท่า” ด้วยพระราชดำริเช่นนี้ช่วงเวลา 17 ปี แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ ขุดคลอง ตัดถนน ให้ราษฎรไปมาค้าขายโดยสะดวกขึ้นทั้งในพระนครและหัวเมือง เช่น คลองผดุงกรุงเกษม เป็นทั้งคูเมืองพระนครชั้นนอก และเส้นทางที่เรือบรรทุกสินค้าเข้ามาขายตลอดลำคลอง จากริมวัดแก้วแจ่มฟ้า เรื่อยไปจนถึงริมวัดเทวราชกุญชร คลองถนนตรงขุดตามคำร้องขอของพวกกงสุลนายห้างต่างประเทศ จากคลองผดุงกรุงเกษม ตรงไป หัวลำโพง ไปถึง คลองพระโขนง ส่วนคลองในหัวเมืองมุ่งไปทางหัวเมืองด้านตะวันตก เป็นหลักเพื่อส่งเสริมให้ราษฎรไปตั้งถิ่นฐานทำการเพาะปลูก และ อุตสาหกรรมน้ำตาลกันอย่างกว้างขวาง เช่นคลองขุดจากแม่น้ำอ้อม ที่ริมวัดชัยพฤกษ์มาลา ไปออกแม่น้ำนครชัยศรี พระราชทานชื่อว่าคลองมหาสวัสดิ์ ริมคลองสร้างศาลาให้ผู้ผ่านไปมาพักอาศัยทุกๆ 100 เส้น บางศาลาเขียนตำรายารักษาโรคติดไว้เป็นการกุศล จึงเรียกกันว่า ศาลายา ส่วนศาลาสร้างอุทิศกุศลในการปลงศพเรียกกันว่า ศาลาทำศพ คนชั้นหลังเห็นว่าไม่เป็นมงคลจึงเปลี่ยนเป็นศาลาธรรมสพน์ คลองนี้เป็นเส้นทางไปยังพระปฐมเจดีย์ เริ่มจากตำบลท่านา ไปถึงพระราชวังปฐมนคร สิ้นสุดทางที่ วัดพระงามพระราชทานนามว่า คลองเจดีย์บูชา ส่วนคลองขุดแยกจากคลองบางกอกใหญ่ ริมวัดปากน้ำไปถึงแม่น้ำนครชัยศรี มีชื่อตามที่ใช้ ภาษีฝิ่น เป็นค่าจ้างขุดคลอง จึงเรียกว่า คลองภาษีเจริญ อีกสายหนึ่งขุนจากแม่น้ำนครชัยศรี ไปออกแม่น้ำแม่กลอง เมืองราชบุรี ที่ตำบลบางนกแขวก แล้วเสร็จตอนปลายรัชกาล พระราชทานนามไว้ว่าคลองดําเนินสะดวก
ส่วนถนนเส้นซึ่งเป็นทางคมนาคมแห่งใหม่โปรดให้ตัดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนชานพระนครได้ใช้ประโยชน์ทั่วกัน เพราะทรงพระราชดำริเห็นว่า “พวกยุโรปเข้ามาอยู่ในกรุงมากขึ้นทุกปีๆ ด้วยประเทศบ้านเมืองเขา มีถนนหนทางก็เรียบลื่นสะอาดไปทุกบ้านทุกเมือง บ้านเมืองของเรามีแต่รกเลี้ยวตรอกเล็กซอกน้อย หนทางก็เปรอะเปื้อน ไม่เป็นที่เจริญหูเจริญตา ดูเป็นที่อัปยศ แก่ชาวนานาประเทศ” จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำทางต่อถนนถนน ตามพระราชดำรินี้พระราชทานว่าถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และ ถนนเฟื่องนคร เชื่อกันว่าทำพร้อมกัน แต่ลงมือสร้างทีละตอน เมื่อแล้วเสร็จเป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก โปรดให้มีการฉลอง มีงานมหรสพหน้าพระที่นั่งไชยชุมพล แล้วเสด็จประพาสถนนที่สร้างใหม่ทุกสาย จนถึงวันนี้ลำคลองถนนสายต่างๆ ทั้งในพระนครและหัวเมืองที่โปรดให้ขุดและตัดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอายุกว่า 100 ปี แล้วแต่ยังคงมีประโยชน์ในการสัญจรโดยสะดวกสมกับความหมายอันเป็นมงคลละนามที่พระราชทานไว้ทุกประการ
ปีพุทธศักราช 2441
นายแพทย์แซมมวล เรโนลด์ เฮาส์ เมื่อครั้งไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวช ประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ได้บันทึกสิ่งที่เขาประทับใจในพระวิริยะอุตสาหะด้านดาราศาสตร์ ซึ่งพระองค์ทรงศึกษาจากตำราต่างประเทศอย่างจริงจังไว้ว่า ข้าพเจ้าได้เหลียวไม้มองรอบๆห้อง “พจนานุกรมเวบสเตอร์” ตั้งอยู่เคียงกันบนชั้นที่โต๊ะเขียนหนังสือ ยังมีดาราศาสตร์และการเดินเรือวางอยู่ด้วย ส่วนข้างบนอีกโต๊ะหนึ่งมีแผนผัง “อุปราคา” (อุปราคา คือ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าหนึ่ง เช่น ดาวเคราะห์หรือดาวบริวารมาอยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสง (เช่น ดวงอาทิตย์) กับอีกวัตถุหนึ่ง) ที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไปมีรายการคำนวณเขียนไว้ด้วยดินสอ
พระราช อัชฌาสัยนี้มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เช่น โปรดการสังเกต ซึ่งเป็นสำคัญของนักวิทยาศาสตร์ ทรงย้อนความหลังในประกาศเรื่องดาวหาง ซึ่งกลับมาปรากฏให้เห็นได้อีก ว่า “ดาวหางดวงนี้ ทรงจำได้ว่าได้เคยมีมาแต่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งหนึ่งแล้ว ดาวอย่างนี้เป็นของสัญจรไปนานหลายปีแล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศข้านี้อีก” และยังส่งให้คำอธิบายเพิ่มเติมเมื่อมีดาวหางดวงใหม่มาอีกว่า “ดาวหางจะมีมาปีไร มนุษย์ที่มีความรู้ เขาคำนวณดูรู้เรื่องก่อนแล้ว เหมือนกับทายสุริยุปราคา จันทรุปราคา”
การซึ่งเอาพระราชหฤทัยใส่ด้านดาราศาสตร์นี้ เมื่อเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในหัวเมือง จึงโปรดให้สร้างหอดูดาวไว้ ณ พระราชวังต่างๆขึ้นเกือบทุกแห่ง
พระราชอัจฉริยะภาพทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ ที่ปรากฏไปในนานาอารยประเทศ คือ การทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำว่า “จะเห็นได้ชัดที่ ตำบลหว้ากอประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พุทธศักราช 2411” ดังความในจดหมายเหตุเสด็จหว้ากอบันทึกว่า ได้เสด็จฯออกทอดพระเนตรสุริยุปราคาด้วยกล้องใหญ่น้อย เมื่อถึงเวลาที่ทรงคำนวณไว้ คือ “5 โมง 36 นาที 20 วินาที สุริยุปะราคา ก็จับหมดดวงท้องฟ้ามืดเหมือนเวลาพลบค่ำ ผู้คนมองหน้ากันไม่เห็น”
เซอร์แฮรี่ ออด ผู้สำเร็จราชการเมืองสิงคโปร์ ซึ่งโปรดให้เชิญมาร่วมดูสุริยุปราคาครั้งนั้นได้บันทึกเหตุการณ์ชื่นชมไว้เช่นกันว่า “ทรงคำนวณเวลาได้อย่างถูกต้องแน่นอนและพระองค์ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง”
ด้วยพระอัจฉริยะภาพทางดาราศาสตร์ในครั้งนั้นพุทธศักราช 2525 ทางราชการได้ถวายพระราชสมัญญาให้ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ปีพุทธศักราช 2441 ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ 1 เดือนตุลาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ
สวรรคต ท่ามกลางความโศกเศร้าของราษฎร หลังเสด็จกลับจากการสังเกตการณ์การเกิดสุริยุปราคารวมพระชนมายุ 64 พรรษาตลอด 17 ปี ที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์นั้นประเทศสยามมีความเจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ไปด้วยความสุขและสันติ ครั้งหนึ่งมีรากฐานการพัฒนาประเทศมากมาย ดังเห็นได้จากในยุคของพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาล ที่ 5
ปีพุทธศักราช 2490 ตามที่พระองค์ได้ศึกษามา วัดความทันสมัยของประเทศที่สำคัญ พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคา ได้อย่างแม่นยำโดยได้ทำนายล่วงหน้าที่ 2 ปี และใช้หลักการทำนาย ที่ทรงคิดค้นด้วยพระองค์เอง ทั้งหมดทำให้คนไทยรวมถึงชาวต่างชาติได้ประจักษ์ถึงพระปรีชาชาญด้านวิทยาศาสตร์ทรงคิดค้น และประยุกต์เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศมากมาย จนได้รับการยกย่องว่าพระองค์ คือ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
เนื้อหานี้ทางทีมงาน นิวดีไลท์ (New Delight) ได้แกะมาจาก คลิปวิดีโอจาก : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตอน พระอัจฉริยะทางดาราศาสตร์ ในแหล่งเรียนรู้ ของwww.trueplookpanya.com หากผิดพลาดประการใดต้องกราบขออภัยด้วยค่ะ
Thankfulness to my father who stated to me regarding this weblog,
this webpage is truly remarkable.