การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ DTI – Defence Industry and Innovation 2019 ระหว่างวันที่ 31 กรกฏาคม – 1 สิงหาคม 2562
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) หรือ สทป. ได้จัดให้มีการ “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ DTI – Defence Industry and Innovation 2019” ขึ้นระหว่างวันที่ 31 กรกฏาคม – 1 สิงหาคม 2562 ณ แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ท แอนด์ คันทรีคลับ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมการสัมมนา การสัมมนาครั้งนี้เพื่อ ให้ทุกภาคส่วนได้ทราบถึงศักยภาพ ในผลงานการวิจัยและพัฒนา ของ สทป. ที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต นับว่าเป็นการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อ นำไปใช้งานจริง ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคงขึ้น รายละเอียดการจัด “สัมมนาเชิงปฏิบัติการ DTI – Defence Industry and Innovation 2019”
วันที่ 31 กรกฏาคม 2562
(ภาคเช้า) เริ่มด้วยพิธีเปิดการสัมมนาฯ แสดงสาธิตศักยภาพผลงานวิจัยและพัฒนาของ สทป. ได้แก่ เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติภารกิจเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหาร และการปฏิบัติสาธารณะประโยชน์เพื่อสังคม ด้วยคุณสมบัติเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองภารกิจ 4 ประเภท คือ
1. ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กแบบขึ้นลงทางดิ่ง (Multi-Rotor UAS) รุ่น D-Eyes 01
2. ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Mini UAS) รุ่น D-Eyes 02 เพื่อการขึ้นลงด้วยมือ และมีขนาดเบา
3. ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Small Tactical UAS) รุ่น D-Eyes 03 ใช้สำหรับยุทธวิธีขนาดเล็ก หรือสำหรับการฝึกใช้งานอากาศยานไร้คนขับก่อนใช้งานขนาดกลาง
4. ระบบอากาศยานไร้คนขับประเภทยุทธวิธีระยะกลาง (Tiger Shark II) และยังมีการจัดแสดงนิทรรศการหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด (EOD Robot) ระบบเครื่องช่วยฝึกรถถัง รุ่น DTI Tank Sim และการประกวดธุรกิจนวัตกรรม UAV START UP 2019 อีกด้วย
(ภาคบ่าย) พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ดังนี้
1.) พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือร่างหลักสูตรนักบินอากาศยานไร้คนขับ ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) และ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)
2.) พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความเข้าใจในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคงและกิจการพลเรือน (dual use) ระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA)
การผนึกกำลัง ทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ เพื่อการบูรณาการ การทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคต โดย
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI) ทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนฝึกอบรมนักบินอากาศยานไร้คนขับ
สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานควบคุมและรับรองมาตรฐานการฝึกอบรมนักบินอากาศยานไร้คนขับ
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ทำหน้าที่ในการบูรณาการ ความร่วมมือเพื่อการดำเนินงานพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
เพื่อตอกย้ำถึงความเชี่ยวชาญ ความเข้มแข็งในการฝึกอบรมนักบินอากาศยานไร้คนขับ ของ DTI ที่เกิดจากความเชี่ยวชาญในการฝึกอบรมให้กับกองทัพ รวมถึงการวิจัยพัฒนาทางด้านอากาศยานไร้คนขับมาแล้วกว่า 3 รุ่น จะเป็นหน่วยบูรณาการด้านอากาศยานไร้คนขับของประเทศต่อไป เพราะเหตุนี้จึงนำไปสู่การเสวนาพิเศษ หัวข้อ “มาตรฐานการบินอากาศยานไร้คนขับ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่” โดยมี
พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
นายศรัณย เบ็ญจนิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
พลอากาศตรี ภาณุ อดทน ผู้เชี่ยวชาญ สทป. และที่ปรึกษาโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐานของระบบยานไร้คนขับ
นายปิยะ ยอดมณี ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการดำเนินการในการจัดตั้งหน่วยธุรกิจของ สทป.
มีตัวแทนจากภาคเอกชนร่วมเสวนา ได้แก่
บริษัท ท๊อป เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด
บริษัท เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี จำกัด
บริษัท จีซีเอส กรุ๊ปคอร์ปอเรชั่น จำกัด และ
บริษัท เอสบีวันแอนด์ซีนส์โบ อินโนเวชั่น จำกัด
ในการเสวนาได้เปิดโอกาสให้ท่านผู้เข้าร่วมงานสามารถสอบถามแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ซึ่งปรากฏว่าผู้ผู้เข้าร่วมการเสวนาต่างแสดงความพอใจเป็นอย่างมาก
วันที่ 1 สิงหาคม 2562
สรุปผลการ “สัมมนาเชิงปฏิบัติการ DTI – Defence Industry and Innovation 2019”
การจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ DTI – Defence Industry and Innovation 2019 ในครั้งนี้ จะสอดคล้องกับทิศทางและแนวนโยบายความมั่นคงของโลกในอนาคต เนื่องจากการวิจัยและพัฒนา มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติ และการวิจัยพัฒนาจะนำไปสู่การพึ่งพาเทคโนโลยีของตนเอง จะส่งผลดีต่อความมั่นคงของประเทศ อย่างยั่งยืน สามรถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ ในการตอบสนองอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ 11 (S-Curve ที่ 11) ได้อย่างเป็นรูปธรรมตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี และเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศโดยตรงต่อไป
รวมภาพบรรยากาศบางส่วนของการจัด “สัมมนาเชิงปฏิบัติการ DTI – Defence Industry and Innovation 2019” ครั้งนี้
1 thought on “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ DTI – Defence Industry and Innovation 2019 ระหว่างวันที่ 31 กรกฏาคม – 1 สิงหาคม 2562”