ภาคใต้ไม่ได้มีดีแค่ทะเล มาสัมผัสวิถีชีวิต นครแห่งวัฒนธรรมประเพณี ที่งดงามกันหรือยัง

สาธุ สาธุ สาธุ ขึ้นต้นกล่าวทักทายกันด้วยแรงบุญ ส่งความสุข ส่งรอยยิ้มให้ท่านผู้อ่านกันด้วยคำที่ได้ยินแล้วรู้สึกว่าได้รับพร กระทำการอันใดก็สำเร็จไปได้ด้วยดีแน่นอน วันนี้นับเป็นวันที่ดีมากๆอีกวันหนึ่งที่ได้มาร่วมงานบุญ ประเพณีอันเก่าแก่ของทางภาคใต้ ก่อนอื่นเลยต้องกล่าวขอบพระคุณ ททท.(สำนักงานนครศรีธรรมราช) ที่ได้ให้คณะของเราได้ร่วมงานบุญวัญมาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ ครั้งนี้

ที่แรกของทริปนี้เมื่อลงจากเครื่องสู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช นครแห่งวัฒนธรรม ประเพณี ที่มีสืบต่อกันมานับพันปี ชาวนครศรีธรรมราช ยังคงรักษาเชิดชูไว้ได้อย่างดีทีเดียว อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ข้างต้นแล้วว่า วันนี้เป็นวันที่ชาวพี่น้อง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะชาวปากพนัง ต้องรู้สึกปรื้มปิติ เป็นอย่างมากแน่ๆ ตามตำนานที่บอกเล่าต่อๆกันมาว่า

ประเพณีแก่ผ้าขึ้นธาตุ เมื่อครั้งในสมัยที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นกษัตริย์ครองตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) อยู่นั้น ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่ และแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๑๗๗๓ ขณะที่เตรียมสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น ชาวปากพนังมากราบทูลว่า คลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบยาวผืนหนึ่งซึ่งมีภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติมาขึ้นที่ชายหาดปากพนัง ชาวปากพนังเก็บผ้านั้นถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์รับสั่งให้ซักผ้านั้นจนสะอาด จึงมองเห็นภาพวาดพุทธประวัติ จึงได้เรียกว่า “ผ้าพระบฏ” แล้วจึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธจากหงสากลุ่มหนึ่ง จะนำผ้าพระบฏไปบูชาพระพุทธบาทที่ลังกา แต่ถูกพายุพัดพามาขึ้นชายฝั่งปากพนัง เหลือผู้รอดชีวิตสิบคนพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ทรงมีความเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏ ไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ แม้จะไม่ใช่พระพุทธบาทตามที่ตั้งใจ แต่ก็เป็นพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเจ้าของผ้าพระบฏก็ยินดี
การแห่ผ้าขึ้นธาตุ จึงมีขึ้นตั้งแต่ปีนั้นและดำเนินการสืบต่อมา จนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราชถึงปัจจุบัน

เดินตามขบวนแห่ผ้าจนถึงจุดข้างกำแพงเมืองเก่า  ลองเดินเข้าไปชม จุดแรกน่าสนใจไม่น้อย นั้นคือการกวนข้าวยาคู หรือที่หลายๆท่านรู้จักในชื่อของ ข้าวมธุปายาส นั้นเอง ซึ้งครั้งนี้ทางจังหวัด นครศรีธรรมราชได้จัดให้กวนข้าวยาคู หรือข้าวมธุปายาสไว้ 12 กะทะ 12 นักกษัตร เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำบุญครั้งนี้ มารู้จักที่มาของข้าวยาคู หรือข้าวมธุปายาสกันก่อน

ข้าวยาคูหรือข้าวมธุปายาส คือ ข้าวที่นางสุชาดาปรุงถวายพระพุทธเจ้า เป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าจะได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึงมีความเชื่อกันว่า ข้าวมธุปายาสเป็นอาหารวิเศษ ผู้ใดมีวาสนาได้กินจะมีร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย อุดมด้วยสติปัญญา และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

เดินไปอีกหน่อยจะเจอกับตลาดตรงบริเวณกำแพงเมืองเก่า ซึ้งทางทีมงานได้เดินชมตลาดมองไปเห็นร้านค้า ร้านขายของต่างๆ น่าสนใจอยู่ไม่น้อยอีกทั้งนักท่องเที่ยวก็เยอะมากๆ แต่เสียดายที่วันนี้มาเป็นวันสุดท้ายของงานตลาด ณ บริเวณ ริมกำแพงเมืองเก่า สวนศรีธรรมโศกราช แห่งนี้ เพราะลองสอบถามไปทางพ่อค้าแม่ค้า นักท่องเที่ยวที่มาชม มาช๊อป บอกเล่าว่า งานเขามีมาตั้งแต่ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 แล้ว ซึ่งวันนี้ก็เป็นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นวันสุดท้ายของตลาด แต่ท่านที่มาก็ต้องรอพรุ่งนี้ที่จะเป็นงานการแห่งผ้าขึ้นพระธาตุ ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ต้องติดตามต่อนะจ๊ะ แล้วจะมาเล่าให้ฟังใหม่ ในครั้งต่อไป รู้ยังว่า ภาคใต้ไม่ได้มีดีแค่ทะเล นะจ๊ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *