๒๕๐ ปี ตามรอยกองเรือยกพลขึ้นบกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากจันทบุรีสู่อยุธยา
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ > ในช่วงที่พม่าโดยพระเจ้ามังระเข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ ๗ เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๑๐
อาณาจักรอยุธยาได้แตกออกเป็นรัฐเล็กๆ จำนวน ๖ รัฐ กระจายไปตามภาคต่างๆ ของประเทศสยาม ซึ่ง หนึ่งในนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยึดครองหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก มีจังหวัดจันทบุรีเป็น ศูนย์กลาง โดยเป็นการเดินทัพตีฝ่าวงล้อมพม่าจากค่ายวัดพิชัย (ปัจจุบันคือวัดพิชัยสงคราม) ออกไปทาง ทิศตะวันออกผ่านเมืองนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เข้าสู่เมืองจันทบุรี และได้ทำการรวบรวมไพร่พล เรือ อาวุธ และเสบียง ในการเสริมสร้างกองทัพเพื่อกลับมากอบกู้แผ่นดิน โดยเมื่อ ๔ ตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ ทรงรวบรวมกำลังพลประมาณ ๕,๐๐๐ คน เรือประมาณ ๑๐๐ ลำ เคลื่อนทัพเรือทางทะเลเลียบชายฝั่งภาคตะวันออก เข้าสู่แม่น้้ำเจ้าพระยา และใช้พื้นที่บริเวณวัดบางเดื่อซึ่งมีคลองบางเดื่อเชื่อมกับแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรีเป็นชัยภูมิ เข้าตีทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น กรุงศรีอยุธยา จนแตกพ่าย
เมื่อ ๖ พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน นับว่าทรงกอบกู้อิสรภาพคืนมาอีกครั้งในเวลา ๗ เดือน ถัดมาตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่กรุงศรีอยุธยามีความเสียหายมากจนยากแก่การบูรณะฟื้นฟูสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี มีชื่อว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุท” ซึ่งสันนิษฐานจากชื่อแสดงให้เห็นว่าทรงมุ่งที่จะใช้ทะเลเป็นเส้นทางหลักในการเจริญสัมพันธไมตรีและทำการ ค้ากับนานาประเทศการยกทัพเรือเพื่อกอบกู้อิสรภาพครั้งนี้ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นับว่าทรงใช้รูปแบบ
ยุทธวิธีสะเทินน้ำสะเทินบก โดยการเคลื่อนกำลังทางเรือเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายในลักษณะการยกพลจากเรือขึ้นสู่ฝั่ง หรือหากจะเปรียบก็คือพระองค์ได้ทรงจัดตั้งกองเรือยกพลขึ้นบกเพื่อปฏิบัติภารกิจให้บรรลุตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนตุลาคม ซึ่งลมจะส่งจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เอื้ออำนวยต่อการแล่นเรือ ทำให้มีระยะเวลาเตรียมทัพไม่มากนักคุณลักษณะของเรือที่ต้องบรรทุกกำลังพลอย่างน้อย ๕๐ คน ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียง จะต้องเป็นเรือเดินทะเล จึงได้ทรงให้เร่งต่อเรือ ดัดแปลงเรือ รวมทั้งเกณฑ์เรือเดินทะเลในพื้นที่ เพื่อใช้ในภารกิจนี้การกำหนดเส้นทางเดินเรือ และตำบลที่แวะพัก การรวบรวมไพร่พลเพิ่มเติมจากชาวบ้านอาสาสมัครกู้ชาติเข้ารับการฝึกฝนการใช้อาวุธและฝีพาย การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนการได้แม่ทัพและนายกองที่มีความสามารถและกล้าหาญ ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้เป็นองค์ประกอบเกื้อหนุนให้ทรงบัญชาการทัพเรือ ยกพลขึ้นบกเข้าตีทัพพม่าเป็นผลสำเร็จ จึงนับเป็นประวัติศาสตร์ห้วงหนึ่งที่มีคุณค่าต่อการรำลึกถึง และควรเผยแพร่พระปรีชาสามารถ ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเสียสละเพื่อปกป้องชาติบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นประเทศไทยสืบมาจวบจนปัจจุบัน
กองประชาสัมพันธ์ สำนักจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ นับเป็นเวลาผ่านมา ๒๕๐ ปี ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยา กองทัพเรือ และ มูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่าน โดยการจัดโครงการ “๒๕๐ ปี ตามรอยกองเรือยกพลขึ้นบก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากจันทบุรีสู่อยุธยา” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบถึงประวัติศาสตร์ชาติไทยในห้วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ โดยใช้กำลังทางเรือยกพลขึ้นบก
ผู้รับผิดชอบโครงการ : กองทัพเรือ ร่วมกับ มูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
วัตถุประสงค์
– เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถและทรงเสียสละเพื่อ
ปกป้องชาติบ้านเมือง
– เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย ในห้วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช ทรงกอบกู้อิสรภาพจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ “โดยใช้กำลังทางเรือยกพลขึ้นบก”
– เพื่อเสริมสร้างให้คนไทยมีความรักชาติ สามัคคีปรองดอง และเสียสละเพื่อชาติ
– เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเล็งเห็นคุณค่าของ “สมุททานุภาพ”
เป้าหมาย
– ให้องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ได้สนับสนุนโครงการฯ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช
– ให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย ในห้วงที่สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงกอบกู้อิสรภาพจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ โดยใช้กำลังทางเรือยกพลขึ้นบกซึ่งเป็นการแสวงหา
ประโยชน์จาก สมุททานุภาพ
– ให้ประชาชนได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอุดมการณ์รักชาติ และการเทิดทูนสถาบันพระ
มหากษัตริย์
การดำเนินโครงการ
– กิจกรรมจำลองประวัติศาสตร์ ตามเส้นทางการยาตรากำลังทางเรือยกพลขึ้นบกของสมเด็จ
พระเจ้าตากสินมหาราช จากจังหวัดจันทบุรี ถึง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
– จัดกิจกรรมทางน้ำโดยจัดเป็นกองเรือยาตราในทะเลและในแม่น้ำตามเส้นทางยกทัพ และมีการจัด
กิจกรรมทางบกโดยให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมทางน้ำ
– จังหวัดต่างๆ ร่วมจัดกิจกรรมตามพื้นที่ โดยให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการยาตราของกองเรือ
– กิจกรรมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในพื้นที่และห้วงเวลาตามความเหมาะสม
พื้นที่ดำเนินการ
จัดกิจกรรมในพื้นที่ทางน้ำและทางบกของจังหวัดชายฝั่งทะเลและจังหวัดริมฝั่งแม่น้ำ ตามเส้นทาง
ยาตราทัพ โดยประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ เหล่านี้
จังหวัดจันทบุรี, จังหวัดตราด, จังหวัดระยอง, จังหวัดชลบุรี, จังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดสมุทรปราการ,
กรุงเทพมหานคร, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
– ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
– ประชาชนได้ทราบประวัติศาสตร์ชาติไทย ในห้วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้
อิสรภาพจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ โดยการใช้กำลังทางเรือยกพลขึ้นบก
– คนไทยมีจิตสำนึกในความรักชาติ ความสามัคคีปรองดอง และการเสียสละเพื่อชาติ
– ประชาชนเล็งเห็นคุณค่าของสมุททานุภาพมากขึ้น
ระยะเวลา ในการดำเนินกิจกรรม ๒๔ ตุลาคม – ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
รายละเอียดเนื้อหาในภาพรวมของการแถลงข่าว วันอังคารที่ ๑๖ ต.ค.๖๑ เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๐๙.๓๐ น. (เวลาการแถลง ๐๘.๓๐ น. – ๐๙.๓๐ น.) ณ ห้องวุฒิไชยเฉลิมลาภ ชั้น ๒ อาคารราชนาวิกสภา
ผู้แถลงข่าว :
พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือเอก วสินธ์ สาริกะภูติ ประธานมูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ และประธานกรรมการจัดโครงการฯ
และท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้แทน ๑๐ จังหวัด
พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าว
เนื่องในโอกาสที่ทางรัฐบาลมีนโยบาย ในการจัดงานฉลองกรุงธนบุรี ๒๕๐ ปี ระหว่างวันที่ ๒๘ ธันวาคมปีที่ผ่านมา ถึง วันที่ ๒๘ ธันวาคมปีนี้ โดยท่านนายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง ท่านวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการในการจัดงานซึ่งทางคณะกรรมการได้มอบหมายให้กองทัพเรือร่วมจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยกองทัพเรือ ได้เล็งเห็นว่า ช่วงเวลาดังกล่าวไม่เพียงเป็นการครบรอบ “การสถาปนากรุงธนบุรี” เท่านั้น
แต่ยังเป็นการครบรอบ “การกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์ทรงใช้ยุทธวิธีในการยกทัพที่อาศัยเส้นทางทางทะเลและแม่น้ำ กองทัพเรือจึงได้จัดกิจกรรม ชื่อว่า “๒๕๐ ปี ตามรอยกองเรือยกพลขึ้นบกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากจันทบุรีสู่อยุธยา” เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่พระองค์ทรงกอบกู้ชาติกลับคืนมา โดย ใช้จังหวัดจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น รวบรวมเรือ ทรัพยากรต่าง ๆ จากจังหวัดหัวเมืองทางทะเลภาคตะวันออกและเคลื่อนทัพเรือพร้อมไพร่พลโดยอาศัยประโยชน์จากเส้นทางทางทะเล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “สมุททานุภาพ” ทรงนำทัพเรือของพระองค์มาตามชายฝั่งทะเล จนมาถึงปากน้ำเจ้าพระยา และล่องจนไปถึงพระนครศรีอยุธยาเอาชนะศัตรูจนกู้ชาติได้สำเร็จกิจกรรมในครั้งนี้ทางกองทัพเรือจะได้ร่วมกับทางจังหวัดที่เกี่ยวข้องอีก ๑๐ จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่กองเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยเคลื่อนทัพผ่าน ตั้งแต่จังหวัดจันทบุรีจนถึงจังหวัดอยุธยา ได้แก่ จันทบุรีและตราด (จัดกิจกรรมร่วมกัน) ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา โดยเริ่มกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม จนถึงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกนี้ ซึ่งจะมีทั้งกิจกรรมทางบกและทางน้ำ ทั้งนี้กองทัพเรือเรามีความพร้อมที่จะเป็นแกนหลักในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ เทิดพระเกียรติของพระองค์ในวีรกรรมทางน้ำ กองทัพเรือจึงได้จัดเรือหลวงอ่างทอง ซึ่งเป็นเรือสำหรับการยกพลขึ้นบก พร้อมกับเรือรบอีกจำนวนหนึ่ง อัญเชิญพระบรมรูปเดินทางตามเส้นทางของพระองค์ เริ่มตั้งแต่จังหวัดจันทบุรี เดินทางมาตามชายฝั่งทะเล แวะยังจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ริมชายฝั่งเพื่อมีกิจกรรมทางบก จนมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะมีรายละเอียดนำเสนอต่อไป
การจัดกิจกรรมในโครงการครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นจิตสำนึกของการรักชาติให้เห็นว่าไทยเป็นชาติอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจ และความเสียสละของบรรพบุรุษของคนไทย ถ้าไม่มีสิ่งนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับเราในวันนี้ ผมขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆและร่วมติดตามข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องต่อไป สุดท้ายขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาร่วมการแถลงข่าวในครั้งนี้ รวมทั้ง ขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่านที่มาร่วมกันเผยแพร่การแถลงข่าว “โครงการ ๒๕๐ ปี ตามรอยกองเรือยกพลขึ้นบกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากจันทบุรีสู่อยุธยา”
พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ และประธานกรรมการจัดโครงการฯ กล่าว
(กล่าวถึงเส้นทางการจัดงาน กำหนดการ วัน-เวลา และรูปแบบการจัดขบวนทางบกและทางน้ำ ที่
ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและจังหวัดต่าง ๆ)
ตามจังหวัดต่างๆ ที่เป็นเส้นทางในการทรงพักทัพหรือเดินทัพผ่าน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน ในการจัดกิจกรรมของจังหวัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกิจกรรมจะจัดขึ้นระหว่าง วันที่ ๒๔ ตุลาคม ถึงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ โดยเป็นการจำลองการยาตราทัพทางเรือ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งจะจัดเป็นกองเรือ ยาตราเรือในทะเลและแม่น้ำตามเส้นทางเดินทัพจริง จากจันทบุรีสู่พระนครศรีอยุธยา โดยแวะพักจัดกิจกรรมบนบกตามจุดต่างๆ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับการเดินทัพของพระองค์ ซึ่งมีจังหวัดที่ร่วมจัดกิจกรรม ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี, ระยอง, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, สมุทรปราการ, กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี และ พระนครศรีอยุธยา นอกจากนั้น
ในจุดเริ่มต้น ก็มีจังหวัดตราด ซึ่งกองเรือไม่ได้ผ่าน แต่เป็นเมืองที่พระองค์ท่าน ได้ยกทัพไปรวบรวมกำลังพลเรือ และอาวุธ มาเตรียมกำลังหลังจากเข้าตีเมืองจันทบุรีแล้ว จึงมาร่วมจัดกิจกรรมกับทางจังหวัดจันทบุรีด้วยทั้งนี้ ไฮไลท์สำคัญ จะมีขึ้นในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ที่พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ยกทัพเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นจนได้รับชัยชนะ โดยเป็นการจำลองทัพทางบกจากวัดบางเดื่อไปยังค่ายโพธิ์สามต้น รวมทั้งการแสดงแสงสีเสียงสื่อผสม และในวันที่ ๑๐ – ๑๑ พฤศจิกายน ที่พระราชวังกรุงธนบุรี หรือพระราชวังเดิม กองทัพเรือในปัจจุบัน ซึ่งจะจัดแสดง แสงสีเสียงสื่อผสม สุดยิ่งใหญ่ เพื่อเล่าเรื่องราว วีรกรรมของพระองค์ ท่าน ตั้งแต่ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา จนยกทัพทางเรือกลับมาตีค่ายโพธิ์สามต้น และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี
สำหรับกองเรือที่เราจำลองในครั้งนี้ ในช่วงจันทบุรีถึงสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการเดินทางตามชายฝั่งทะเล จะใช้เรือหลวงอ่างทอง ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือ เป็นเรืออัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดเท่าพระองค์จริง เมื่อถึงจุดแวะพัก จะอัญเชิญขึ้นไปร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติที่ทางแต่ละจังหวัดจัดขึ้น ซึ่งจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย ตามวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปของแต่ละ
ท้องถิ่น ส่วนการจำลองกองเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สมุทรปราการจนถึงพระนครศรีอยุธยา เรามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นเรือขนาดเล็กแทน รวมทั้งมีเรือพายแต่งเป็นกองเรือรบโบราณ เข้าร่วมขบวนเรือด้วยสำหรับรายละเอียดการจัดกิจกรรมตามวันและสถานที่ มีดังนี้
– วันที่ ๒๔ และ ๒๕ ตุลาคม กองเรือจอดปากน้ำจันทบุรี มีพิธีเปิดโครงการฯ ณ บ้านเสม็ดงาม
จว.จันทบุรี และจัดกิจกรรม ณ วัดพลับ
– ๒๖ ตุลาคม จอดที่ปากน้ำ จว.ระยอง จัดกิจกรรม ณ วัดลุ่มพระอารามหลวง
– ๒๗-๒๘ ตุลาคม จอดที่แสมสาร อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี จัดกิจกรรม ณ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ทางเรือ กองเรือยุทธการ หรือ หน่วยซีล
– ๒๙ ตุลาคม จอดอ่าวพัทยา จว.ชลบุรี จัดกิจกรรม ณ ศาลาว่าการ เมืองพัทยา
– ๓๐ ตุลาคม จอดหน้าหาดบางแสน จว.ชลบุรี จัดกิจกรรม ณ วัดใหญ่อินทาราม
– ๓๑ ตุลาคม จอดที่ปากแม่น?้ำบางปะกง จว.ฉะเชิงเทรา จัดกิจกรรม ณ วัดหงส์ทอง
– ๑-๓ พฤศจิกายน จอดและจัดกิจกรรมบริเวณโรงเรียนนายเรือ จว.สมุทรปราการ
– ๔ พฤศจิกายน จอด ณ วัดกู้ จว.นนทบุรี และจัดกิจกรรม ที่วัดกู้ และวัดเสาธงหิน
– ๕ พฤศจิกายน จอดและจัดกิจกรรมบริเวณท่าเรือโรงเรียนวัดป่างิ้ว จว.ปทุมธานี
– ๖-๗ พฤศจิกายน จอดที่ วัดบางเดื่อ จว.พระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรม ณ วัดบางเดื่อ และค่าย
โพธิ์สามต้น
– ๑๐-๑๑ พฤศจิกายน จอดบริเวณพระราชวังกรุงธนบุรี จัดกิจกรรมใหญ่ ณ พระราชวังกรุงธนบุรี
และกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารสุดท้ายนี้ ผมต้องขอขอบคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง ๑๐ จังหวัด และประชาชนทุกภาคส่วน ที่
ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการเตรียมการจัดกิจกรรมครั้งนี้ด้วยนะครับ ขอขอบคุณครับ